22/5/55

ยั่งยืน




ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ขยายตัวมากขึ้น จนกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศและยังได้สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างระบบสาธารณูปโภคอีกมากมาย ในขณะเดียวกันทรัพยากรการท่องเที่ยวได้ถูกใช้ไปอย่างหนักจนเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับทราบถึงประโยชน์และคุณค่าที่ได้จากการท่องเที่ยว แต่ก็ยังคงเดินทางท่องเที่ยวตามฤดูกาล และไปโดยมีแรงกระตุ้นจากการส่งเสริมการขายเป็นหลัก ดังนั้นในปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงมีนโยบายที่จะมุ่งสร้างกระแสให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยทุกคน เพื่อสร้างการท่องเที่ยวที่มี “คุณค่า”และมี “ความยั่งยืน”อย่างแท้จริง

            วัตถุประสงค์ของการสร้างกระแสให้การท่องเที่ยวใหม่นี้ก็คือ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างทัศนคติของคนไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อการดำรงชีวิตเสมือนเป็นปัจจัยหลัก เป็นปัจจัยที่ ๕ ของชีวิต และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยเสริมสร้างสมดุลทั้ง ๒ มิติ คือ มิติทางเศรษฐกิจ และมิติทางสังคม โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

            ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ถ้าคนไทยทุกคนเล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่เรามี และมองเห็นการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยที่ ๕ ของชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างต้นทุนทางการท่องเที่ยวและการตลาด โดยการสร้างวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยวแบบใหม่ขึ้นมา เปลี่ยนความคิดใหม่ เปลี่ยนวิธีการท่องเที่ยวใหม่ ให้กลายเป็นหัวใจดวงใหม่ ที่พร้อมเดินทางออกไปท่องเที่ยวด้วยความรัก ความหวงแหนและรู้คุณค่าของทุกสถานที่ที่ได้ไป ซึ่งจะนำมาสู่การท่องเที่ยวแบบใหม่ ที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของแนวความคิด “เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน”ซึ่งเป็นกลยุทธ์และแผนการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวภายในประเทศปี ๒๕๕๔

ที่มา http://www.highlightthailand.com

Activity


กิจกรรมที่ ททท. ร่วมจัดกับหน่วยงานที่ลงนามบันทึกข้อตกลง
     *    ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมส่งเสริมบริการที่พักสีเขียวและชุมชนสีเขียว ในพื้นที่อำเภอปาย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอเมือง จังหวัดน่าน
     *    ร่วมกับ มูลนิธิ Samui Green Island จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อร่วมลดภาวะโลกร้อนจากการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ประกอบ การธุรกิจท่องเที่ยวบนเกาะสมุย
     *    ร่วมกับ มูลนิธิใบไม้เขียว จัดกิจกรรมส่งเสริมบริการโรงแรมและสปาบนเกาะ สมุยให้ได้รับมาตรฐานใบไม้เขียว  ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและ พลังงาน มีการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติ
     *    ร่วมกับ สถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย จัดอบรมบุคลากรของ ททท. รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในพื้นที่ 5 เมืองหลักด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา และนครราชสีมา และพื้นที่นำร่อง ได้แก่ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นต้น

กิจกรรมที่ ททท. ส่วนกลางจัดขึ้น
     การจัดนิทรรศการเผยแพร่ “ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด 7 Greens (ภาษาไทย-อังกฤษ) เพื่อใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่ออุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และแนวทางการลดภาวะโลกร้อนตามแนวคิด 7 Greens อันจะนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น งาน Samui Global Mala เกาะสมุย, งานสมัชชาคุณธรรม อิมแพค เมืองทองธานี, งาน Green Fair’09 ณ อุทยานเบญจสิริ, โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพฯ, Eco & Adventure Mart เชียงใหม่, ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา เป็นต้น

ที่มาtravel.mthai.com

7 Green


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย  ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก 7 Greens “ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” คือ แนว คิดที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้โครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ททท. เพื่อให้เกิดผลสำคัญ 2 ประการ คือ ลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดที่พยายามให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทั้งผู้ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยตรง สื่อมวลชน รวมถึงประชาชนทั่วไป อันเชื่อว่าจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับทัศนคติ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวคุณภาพ

แนวคิด 7 ประการ เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
     Green Heart                เที่ยวด้วยใจคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     Green Logistics         เที่ยวใกล้-ไกล เลือกใช้ (พาหนะ) พลังงานสะอาด
     Green Attraction        จัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความยั่งยืน
     Green Activity             เลือก กิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     Green Community      เที่ยวอย่างรู้ค่า รักษาเอกลักษณ์ชุมชน
     Green Service             จัดการธุรกิจ ตระหนักคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     Green Plus                   จิตอาสา พาโลกสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ที่มา  http://travel.mthai.com/

ททท

เที่ยวไทยยั่งยืน

30/4/55

การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ นี้ อพท. มีนโยบายเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบ Low Carbon Tourism เพื่อตอบรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งให้เกิดภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การเข้าพักในโรงแรม ตลอดจนกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ และแม้แต่ปริมาณขยะที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ในแหล่งท่องเที่ยวก็ตาม ฉะนั้น เราจึงพยายามรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยการสร้างเทรนด์หรือกระแสการท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่น การคำนึงถึงการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว โดยเลือกกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด หรือทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนหรือผู้ประกอบการ เช่น การปลูกต้นไม้ เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    อันที่จริงแล้ว อพท. ได้เริ่มต้นดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับสภาพภูมิอากาศมาตั้งแต่มี 2551 ให้ความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ คือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ วิธีการดำเนินงานก็คือ การให้องค์ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่กระทบต่อการท่องเที่ยว และสนับสนุนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราเริ่มจากพื้นที่นำร่อง คือ พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง กลุ่มเป้าหมายก็คือ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการการโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร
    ในช่วงปีแรก อพท. และ GIZ ได้ร่วมกันส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีความรู้ในเรื่องการจัดการขยะ พร้อมๆ กับการเก็บข้อมูลสถิติการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมการท่องเที่ยว และในปีต่อมา จึงได้นำผลการศึกษาดังกล่าวนำเสนอต่อผู้นำระดับจังหวัด เพื่อร่วมกันรณรงค์ผลักดันแนวทางการพัฒนา Low Carbon Tourism จากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะได้จัดทำโครงการนำร่องธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ประกอบการการโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร เช่น โครงการจัดอบรมการใช้เครื่องมือบริหารโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสภาวะอากาศ และโครงการติดตั้งบ่อหมักก๊าซชีวภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สหุงต้ม และการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

VTR6 พั้นช์ "ด้วยหัวใจ"



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=7dG-h49Qolw